วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

ทฤษฎีทางสุขภาพจิต




ทฤษฎีทางสุขภาพจิต
บุคลิกภาพ (Personality)
                บุคลิกภาพมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์  ทั้งในด้านส่วนตัวและด้านการงาน  ผู้ที่มี บุคลิกภาพที่ดีเป็นที่ชื่นชอบของคนโดยทั่วไป ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ ของชีวิตอีกทั้งได้รับความร่วมมือจากบุคคลอื่นได้มากขึ้น  และเมื่อมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลดีก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง  ช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพให้ดียิ่งขึ้นเรื่อยๆ บุคคลที่มีบุคลิกภาพดี  มักจะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เพราะมีความเชื่อมั่น มีโอกาสมากกว่า ตลอดจนรู้วิธีที่จะปรับตัวให้เข้ากับคนเหล่านั้นได้  ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน เพราะคนที่มีบุคลิกภาพดีจะได้เปรียบคนอื่นๆ เสมอ เพราะการมีบุคลิกภาพดีจะทำให้ได้รับความเชื่อมั่น  ศรัทธาจากผู้พบเห็นและคนที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย   ดังนั้นการทำงานหรือประกอบกิจกรรมต่างๆ ย่อมได้รับความร่วมมือจากคนส่วนใหญ่มากกว่าคนที่มีบุคลิกภาพไม่ดี  สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข

































ทฤษฎีมนุษย์นิยม (Humanism)

           ทฤษฎีมนุษย์นิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ แต่จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น

ลักษณะสำคัญ

      นักทฤษฎีกลุ่มนีเชื่อว่ามนุษย์มีอิสระที่จะเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมที่ดีจากการสนับสนุน หรือส่งเสริมของครูผู้สอน ผู้นำความคิดที่สำคัญได้แก่ Rogers และ Maslow
      Rogers ได้พัฒนาแนวคิดแห่งการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมว่าจะเรียนได้ดีในบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่สบาย (Comfortable) ไม่มีการคุกคาม (Threatened) จากองค์ประกอบภายนอก ส่วนครูทำหน้าที่อำนวยความสะดวก (Facilitator)
      หลักกการหรือความเชื่อของทฤษฎี คือ
1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเอง
      Maslow ได้พัฒนาแนวคิดทฤษฎีมนุษย์นิยมจากความเชื่อที่ว่า มนุษย์ไม่ได้ต้องการเรียนรู้เนื่องมาจากสิ่งเร้าภายนอก หรือไม่ได้ต้องการเรียนรู้เนื่องมาจากสัญชาติญาณของจิตไร้สำนึก แต่มนุษย์ต้องการที่เรียนรู้เพื่อก้าวไปสู่การเป็นคนที่สมบูรณ์ (Fully Functioning Person) ซึ่ง Maslow ใช้คำว่า Self-actualizing Person
     Maslow ได้พัฒนาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ขั้นคือ
1. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological needs) คือความต้องการในการดำรงชีวิต เช่น ความต้องการอาหาร อากาศ น้ำ และอุณหภูมิ เป็นต้น
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Need) คือความต้องการที่จะมีความมั่นคงหรือปลอดภัยในชีวิต
3. ความต้องการความรัก ความชอบ และการเป็นเจ้าของ (Need of  Love, Affection and Belongingness)
4.ความต้องการความภาคภูมิใจ (Need for Esteem) คือความต้องการที่จะมีความภาคภูมิใจในตนเองและความภาคภูมิใจที่จะได้รับจากผู้อื่นด้วยการเคารพตนเองและได้รับความเคารพจากผู้อื่น
5. ความต้องการเป็นมนุย์ที่สมบูรณ์ (Need for Self-Actualization) คือความต้องการที่จะเป็น (Be) หรือ ทำ (Do) ในสิ่งที่บุคคลเกิดมาให้สมบูรณ์ หรือไปถึงจุดสูงสุด
ส่วนของ Chapman มีหลักการคล้ายๆ กันกับ Maslow แต่ได้อธิบายเพิ่ม ขึ้นมา คือ
ขั้นที่ 5 ความต้องการทางสติปัญญา (Cognitive Need) คือความต้องการในการเรียนรู้และสามารถในการตีความหมาย
ขั้นที่ 6 ความต้องการทางสุนทรียภาพ (Aesthetic Needs) คือความต้องการความซาบซึ้งใจในความงาน ความสมดุล และความสมบูรณ์แบบ
ขั้นที่ 7 ความต้องการในการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ขั้นที่ 8 ความต้องการในการเป็นมนุษย์เหนือมนุษย์ (Transcendence Needs) คือความต้องการที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้อื่นให้พัฒนาไปถึงขีดสูงสุดและเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

การประยุกต์ใช้
ครูผู้สอน
1. ครูควรเป็นคนใจกว้าง ไม่ยึดติดกับความคิด หรือความเชื่อของตนเอง
2. ครูควรรับฟังผู้เรียนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึก
3. ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเท่ากับความสำคัญของเนื้อหาที่นำมาสอน
4. ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะทั้งทางบวกและทางลบ
5. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
6. จัดการเรียน กิจกรรม สื่อการเรียนการสอนให้หลากหลาย
7. กระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าใจว่าการประเมินผลที่มีคุณค่า คือการประเมินตนเองของผู้เรียน

การประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้
1. ควรจัดการเรียนตามสภาพจริง หรือสภาพที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล
2. ควรจัดการเรียนรู้โดยไม่ยึดติดกับเงื่อนไขหรือข้อจำกัดทางวัฒนธรรมของสังคม
3. ควรจัดการเรียนรู้ตามความต้องการหรือเสียงเรียกของผ้เรียน
4. ควรจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าชีวิตเป็นสิ่งมีค่า
5. ควรเป็นคนร่าเริงและสนุกสนานในทุกสถานกการณ์
6. ควรให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากลักษณะภายใน หรือความต้องการของตน
7. ควรใส่ว่าความต้องการขั้นพื้นฐานของเรียนได้รับการสนองแล้วหรือยัง
8. ควรกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของความงามและสิ่งที่ดีที่เกิดขึ้นในชีวิต
9. ควรตระหนักว่าการควบคุมดูแลนักเรียนเป็นสิ่งที่ดี แต่การปล่อยปะละเลยต่อผู้เรียนเป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่ควรปฏิบัติ เพราะการควบคุมดูแลผู้เรียนจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน
10. ควรฝึกให้ผู้เรียนมองข้ามปัญหาเล็กน้อย แต่ควรฝึกให้จริงจังต่อการแก้ปัญหาที่จะนำมาซึ่งความไม่ยุติธรรม ความเจ็บปวด และถึงแก่ชีวิต
11. ควรทำตัวเป็นผู้เลือกที่ดีด้วยการฝึกสร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย แล้วนำทางเลือกไปใช้ในการดำรงชีวิต


             สรุป  ทฤษฎีมนุษย์นิยมให้ความสำคัญต่อผู้เรียนในลักษณะของการให้อิสระในการเรียนรู้ คือการเรียนรู้ควรเกิดจากความต้องการ หรือเสียงเรียกร้องภายในตัวผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดได้ดีภายใต้บรรยากาศที่สบายไม่มีสิ่งคุกคามภายนอก และครูผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกที่จะคอยส่งเสริมสนับสนุน และควบคุมดูแลให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์บนพื้นฐานของความต้องการทั้ง 5 ขั้น ซึ่งครูควรเอาใจใส่ความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้เรียนได้รับการตอบสนองแล้วหรือยัง เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นที่สูงจนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบในที่สุด
ทฤษฎีการวิเคราะห์การติดต่อสัมพันธ์  (Transactional Analysis – TA)



ผู้ริเริ่ม    Eric    Berne (1910 1970 )
โครงสร้างบุคลิกภาพ

            ปกติแล้วในตัวคนๆ หนึ่งจะประกอบด้วยลักษณะการแสดงออก 3 ส่วน นั่นก็คือ ส่วนที่มีลักษณะคล้ายพ่อแม่ (Parent ego state) ส่วนที่มีลักษณะคล้ายผู้ใหญ่ (Adult ego state) และส่วนที่มีลักษณะคล้ายเด็ก (Child ego state) แต่ละคนจะมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละคน และในแต่ละสถานการณ์ บางทีอาจแสดงออกเป็นผู้ใหญ่ บางทีอาจแสดงออกเป็นเด็ก ซึ่งเราจะสามารถสังเกตและวิเคราะห์ได้จากพฤติกรรมการแสดงออกทั้งทางวาจา สีหน้า ท่าทาง การเคลื่อนไหวทางกายต่างๆ

               สภาวะความเป็นพ่อแม่ (Parent ego state “P”)
แน่นอนที่ว่าลักษณะบุคลิกภาพแบบนี้เราจะได้รับถ่ายทอดจากพ่อ แม่ หรือคนที่เลี้ยงดูเรามา ดังนั้นจึงเป็นการแสดงพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กในปกครอง เป็นลักษณะการประเมินคุณค่า ตัดสินใจต่างๆ โดยใช้มาตรฐานทางสังคม ค่านิยม ความเชื่อ วิถีการดำเนินชีวิตมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาพฤติกรรมของคนอื่น และบางครั้งก็จะมีอคติในการประเมินอันเนื่องจากความเชื่อผิดๆ หรือใช้ประสบการณ์เดิมของตนเข้ามาตัดสิน
              สภาวะความเป็นผู้ใหญ่ (Adult ego state “A”)
เป็นลักษณะบุคลิกภาพที่คล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นแหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงต่างๆ ดังนั้นบุคคลที่มีลักษณะบุคลิกภาพในสภาวะความเป็นผู้ใหญ่มักจะเป็นผู้แสวงหาข้อเท็จจริง แยกแยะปัญหา ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนพิจารณาตัดสินใจใด ๆ ใช้สติปัญญาพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมโดยหลักของเหตุผลไม่มีอารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง จำแนกความเป็นจริงออกจากความคิดเห็น ความเพ้อฝัน ความรู้สึกหรือขนบธรรมเนียมประเพณีได้อย่างเหมาะสม มักจะตรวจสอบสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยคำถามว่า อะไร, ทำไม, อย่างไร, ที่ไหน, เมื่อไรอยู่เสมอ
เราสังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออก เช่น ท่าทางตั้งใจ สนใจ รับข้อมูลต่างๆท่าทางเอาใจใส่ มุ่งมั่นในการทำงาน

             สภาวะความเป็นเด็ก (Child ego state “C”)
จะเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่แสดงถึงความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของคน เป็นอารมณ์ตามธรรมชาติของเด็กในวัย 07 ปี ที่แสวงหาความสุข ความพึงพอใจให้กับตนเอง และแสดงความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นทันทีทันใด เป็นการเปิดเผยอารมณ์ ความรู้สึกในสถานการณ์ต่างๆ ตามที่อยากจะเป็น เช่น ตื่นเต้น ตกใจ ดีใจ มีความสุข โกรธ อาย กลัว อิจฉา ไม่พอใจ ไม่กล้าแสดงออก เห็นแก่ตัว ไวต่อการรับรู้ นอกจากนั้นเป็นลักษณะบุคลิกภาพที่พัฒนาขึ้นหลังจากได้รับการอบรม ขัดเกลาจากพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้รู้จักไตร่ตรองยอมรับฟัง ยอมทำตาม เชื่อฟัง ชอบพึ่งพาผู้อื่น ไม่กล้าตัดสินใจ
สังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงออก อย่างเช่น กระทืบเท้า ร้องไห้ ขว้างปาสิ่งของ ตบมือ กระโดดโลดเต้น แสดงอาการดีใจ กริยายอมจำนน ยอมตาม ปฏิบัติตามคำสั่ง อาการเหงา หลบมุม หรือแม้กระทั่งการตกแต่งรถ, ติดสติคเกอร์ ประดับรถด้วยรูปภาพ และถ้อยคำต่างๆ

                 ทัศนะในชีวิต (Life Position)
ในบรรดาประสบการณ์ทั้งหลายซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตของเรานั้น ไม่มีอะไรสำคัญยิ่งไปกว่าความคิดเห็นเบื้องต้นที่เรามีต่อตนเองและต่อผู้อื่นที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ความคิดเห็นเหล่านี้ส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดมาจากความใส่ใจที่เราได้รับ และความใส่ใจที่เราเรียนรู้ที่จะให้แก่ผู้อื่น (อ่านรายละเอียดในบทความเรื่องความเอาใจใส่/เกมชีวิตและบทบาทชีวิต) ความคิดเห็นดังกล่าวนี้มีอิทธิพลยิ่งกว่าความคิดเห็นทั่ว ๆ ไปที่เราจะมีในระยะต่อมา ทัศนะในชีวิตแบ่งเป็น 4 ทัศนะ คือ

              “I’m not OK – You’re OK”
เป็นทัศนะที่ดูเหมือนว่าเป็นปกติธรรมดามาก เรามักจะมีทัศนะนี้ด้วยการบันทึกคำพูดต่าง ๆ ที่ได้ยินเกี่ยวกับตัวเองซึ่งทำให้รู้สึกท้อแท้และต่ำต้อย คำพูดเช่นว่านี้ได้แก่ เธอน่ะโง่” “เธอน่ะขี้เกียจหรือ ลูกน่ะไม่เคยทำอะไรถูกเลยทัศนะเหล่านี้ถูกสนับสนุนว่าเป็นจริงด้วยวิธีการที่คนอื่น ๆ ปฏิบัติต่อเราด้วย เมื่อข้อมูลเหล่านี้ถูกประมวลลงในเทปที่เราบันทึกไว้ เรา ๆ ก็จะสรุปว่า ฉันโง่” “ฉันขี้เกียจหรือ ฉันไม่เคยทำอะไรถูกเลยและถ้าเรามิได้เป็นเช่นนี้มาก่อนอีกไม่นานก็จะกลายเป็นเช่นนี้ได้ในที่สุด

                “I’m not OK – You’re not OK”
เป็นทัศนะที่ไม่มีใครดีเลยสักคนเดียวในโลกนี้แม้แต่ตนเอง ทัศนะนี้มักจะปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กโดยการที่ถูกลืมจากคนจากบุคคลรอบข้าง ไม่เคยได้รับความเอาใจใส่หรือสนใจจากผู้ใด และจากสถานการณ์ที่ถูกทอดทิ้งดำเนินติดต่อกันไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ย่อมเป็นเหตุให้สรุปได้เลยว่า คนอื่น ๆ นั้นไม่ดี (You’re not OK) เพราะคนเหล่านั้นไม่ให้การใส่ใจแก่เขา และตัวเขาก็ไม่ดีด้วย (I’m not OK) ทัศนะเช่นนี้ถ้าเกิดขึ้นอย่างรุนแรงอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย เพราะว่าชีวิตนี้ไม่มีค่า มีแต่ความเลวร้ายจนไม่อาจจะทนอยู่ในสภาพเหล่านี้ได้อีกต่อไป

              “I’m OK – You’re OK”
เป็นทัศนะเดียวเท่านั้นที่มีลักษณะสร้างสรรค์ บุคคลจะมีทัศนะนี้โดยอัตโนมัติถ้าเขาเจริญเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่เขาได้รับการใส่ใจทางบวกอย่างไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งการใส่ใจอย่างมีเงื่อนไขเพื่อความเจริญงอกงามไปตามขั้นตอนตามพัฒนาการของเขา บุคคลเหล่านี้จะเชื่อมั่นในตนเอง แต่ก็เห็นคุณค่าของผู้อื่น พร้อมที่จะยอมรับฟังความคิดเห็นและสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้โดยไม่เกิดความขัดแย้งภายในตนเองและกับผู้อื่น

             “I’m OK – You’re not OK”
ทัศนะนี้อาจเกิดขึ้นจากประสบการณ์ในชีวิตที่ถูกกระทบกระเทือน อาจเป็นทางด้านกายภาพและทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นสาเหตุให้คนเปลี่ยนทัศนะเดิมที่เคยมีมาก่อนจาก “I’m OK – You’re OK” มาเป็น “I’m OK – You’re not OK” นักวิชาการชี้ว่าบุคคลที่มีประสบการณ์ถูกทำร้ายหรือกระทบกระเทือนจิตใจ และคนนั้นผ่านประสบการณ์ที่ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดมาได้ หากกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นรุนแรงหรือบ่อยครั้งจะทำให้คนมีความรู้สึกว่า ฉันจะเป็นคนดีถ้าปล่อยฉันไว้ตามลำพัง…” “ฉันเป็นคนดีได้ด้วยตัวของฉันเอง…” ดังนั้นคนผู้นี้จะมองคนอื่นด้อยกว่า ไม่ดีพอหรือไม่มีความสามารถพอ ทำให้กลายเป็นคนที่ไม่เชื่อใจ และไม่ฟังความคิดเห็นผู้อื่น





ทฤษฎีบุคลิกภาพของอีริค ฟรอมม์

ทฤษฎีบุคลิกภาพของอีริค ฟรอมม์


          เมื่อพิจารณาตามประวัติแล้ว ทฤษฎีของฟรอมม์ค่อนข้างจะอิงกับทฤษฎีของฟรอยด์และมาร์ค. เนื่องจากฟรอยด์ เน้นเรื่องจิตไร้สำนึก แรงขับทางชีวภาพความเก็บกด และอื่นๆ. หรืออีกนัยหนึ่ง ฟรอยด์มองว่า บุคลิกภาพของเราถูกกำหนดโดยชีววิทยา.ตรงกันข้าม มาร์คซ์ถูกกำหนดโดยสังคมของเขาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเศรษฐกิจ.
ฟรอมม์อธิบายว่า คนเราจะหลีกหนีจากการมีเสรีภาพ(Escape from freedom) ใน 3 ลักษณะคือ:
          1. เผด็จการ(Authoritarianism) เราจะหลีกเลี่ยงจากเสรีภาพโดยการหลอมรวมตนเองเข้าเป็นกับคนอื่นๆ โดยการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบอบเผด็จการ)อย่างเช่น สังคมในยุคกลาง. วิธีนี้กระทำได้ใน 2 ลักษณะ. อย่างแรก คือยอมรับอำนาจของผู้อื่น เป็นฝ่ายอ่อนน้อมยอมตาม. อีกลักษณะหนึ่งคือ เอาตนเองศูนย์กลางอำนาจ และบังคับให้ผู้อื่นอยู่ในอำนาจของตน. แต่ไม่ว่าทางใด คุณก็เป็นคนที่หลีกหนีจากอัตลักษณ์เฉพาะแห่งตน
          2. การทำลาย (Destructiveness) พวกเผด็จการนิยมจะตอบสนองต่อชีวิตที่เจ็บปวดด้วยการทำร้ายตนเองในทำนองว่า: ดูสิ ถ้าไม่ฉันอยู่เสียแล้ว จะมีอะไรทำร้ายฉันได้มั๊ย? ส่วนพวกอื่นจะตอบสนองต่อความเจ็บปวดโดยการต่อต้านโลก: ถ้าฉันทำลายโลกพังย่อยยับแล้ว ดูสิว่ามันจะทำร้ายฉันได้มั๊ย? การหลีกเลี่ยงจากเสรีภาพแบบนี้ อยู่ในรูปของสิ่งเลวร้ายในชีวิตอันไม่น่าพึงปรารถนาในลักษณะต่างๆ การทำลายทรัพย์สิน(vandalism), การสร้างความอัปยศอดสูให้ผู้อื่น(humiliation), การจอล้างจองผลาญ, อาชญากร, ผู้ก่อการร้าย
           3. การทำตัวกลมกลืนโดยอัตโนมัติ (Automaton conformity) พวกเผด็จการนิยมจะหลีกเลี่ยงการมีเสรีภาพโดยการซ่อนอยู่ภายใต้ชนชั้นเผด็จการ. แต่สังคมเน้นคุณภาพ! จึงมีชนชั้นที่จะให้ซ่อนได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น (แม้ว่า ความมั่งคั่งจะมีอยู่มากมายสำหรับใครก็ตามที่ต้องการมัน แต่บางคนก็ไม่ต้องการมัน). เมื่อเราต้องการที่จะหลบซ่อน เราจะหันไปซ่อนในวัฒนธรรมมวลชน(mass culture)แทน. เมื่อฉันต้องแต่งตัวในตอนเช้า มีหลายหลายที่ฉันต้องตัดสินใจ! แต่เมื่อฉันใคร่ครวญว่า ฉันกำลังจะสวมใส่อะไร ความคับข้องใจของฉันก็อันตรธานไปทันใด. แม้กระทั่งเวลาที่ฉันดูโทรทัศน์ รายการอย่างเช่น รายการพยากรณ์ชีวิตจะบอกฉันอย่างรวดเร็วและเฉียบขาด. ถ้าฉันมีความคิดเห็น พูด คิด รู้สึกเหมือนคนอื่นๆในสังคม เมื่อนั้น ฉันจะจางหายไปในฝูงชน และฉันไม่จำเป็นต้องรู้ถึงเสรีภาพและความรับผิดชอบของฉัน. พวกตัวกลมกลืนโดยอัตโนมัติจึงเป็นของคู่กับกับพวกนิยมเผด็จการ.
จิตไร้สำนึกทางสังคม (The social unconscious)

          ครอบครัวส่วนใหญ่มักจะเป็นผลสะท้อนของสังคมและวัฒนธรรมของเรา. ฟรอมม์อธิบายย้ำว่า พวกเรารับค่านิยมผ่านการอบรมเลี้ยงดู. บ่อยครั้งที่เรามักจะลืมไปว่า สังคมเข้ามาพัวพันกับเรื่องต่างในชีวิตเรามากแค่ไหน
          1. แนวคิดแบบมือขอ (The receptive orientation) คนเหล่านี้มักจะคาดหวังว่าจะได้รับในสิ่งที่ตนเองต้องการ. ถ้าเขาไม่ได้ในทันทีเขาจะรอต่อไป. พวกเขาเชื่อว่า สิ่งของและความพึงพอใจจะมาจากนอกตัวเขา.
          2. แนวคิดแบบแสวงหาผลประโยชน์ (The exploitative orientation) คนเหล่านี้จะคาดหวังว่าจะได้รับสิ่งที่เขาต้องการ. ความจริงก็คือ สิ่งต่างๆจะมีค่ามากขึ้นถ้าเข้าได้มาจากผู้อื่น: ทรัพย์สินที่ได้มาโดยการปล้นชิง แนวคิดที่ขโมยมาจากผู้อื่น ความรักที่ได้มาโดยการใช้อำนาจบีบบังคับ
         3. แนวคิดแบบเก็บสะสม (The hoarding orientation) พวกที่ชอบเก็บสะสมก็คิดเอาแต่จะเก็บสะสมอย่างเดียว. ทุกอย่างสำหรับเป็นสิ่งที่ต้องเก็บสะสมและเก็บสะสมให้มากยิ่งขึ้น. แม้กระทั้งคนรักก็เป็นสิ่งที่จะต้องเก็บสะสม, รักษา หรือซื้อหาเอาไว้
         4. แนวคิดแบบการตลาด (The marketing orientation) คนที่มีบุคลิกภาพแบบการตลาด คิดแต่จะขายอย่างเดียว. ความสำเร็จขึ้นอยู่กับว่าฉันสามารถขายตัวฉันเอง สร้างตัวเองเป็นสินค้า และโฆษณาตนเองได้อย่างไร. ครอบครัวฉัน โรงเรียนของฉัน งานของฉัน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของฉัน ทุกอย่างเป็นการโฆษณา และจะต้อง ขายได้.แม้ความรักเองก็ถูกมองว่าเป็นเพียงความติดต่อสัมพันธ์กันเท่านั้น
         5. แนวคิดแบบเน้นผลิตผล (The productive orientation) เป็นบุคลิกภาพวัฒนะซึ่งหลายครั้ง ฟรอมม์อ้างว่า หมายถึง บุคคลที่ไม่เสแสร้ง. คนแบบนี้คือจะที่ไม่ปฏิเสธธรรมชาติทางกายและสังคม และไม่ห่างเหินจากเสรีภาพและความรับผิดชอบ. คนประเภทนี้จะมาจากครอบครัวที่ให้ความรักโดยไม่มีการครอบงำใช้กฎอย่างมีเหตุผล และให้เสรีภาพในการปรับตัวเข้าหากัน.
ความต้องการของมนุษย์ (Human Needs)

           ฟรอมม์ก็เหมือนกับหลายคนที่เชื่อว่า มนุษย์มีความต้องการมากกว่าความต้องการทางกายซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐาน ซึ่งฟรอยด์และนักพฤติกรรมนิยมและนักคิดใช้อธิบายถึงพฤติกรรมมนุษย์. ฟรอมม์เรียกว่า ความต้องการของมนุษย์ (human needs)
          1. ความสัมพันธ์ (Relatedness)
           ในฐานะที่เป็นมนุษย์ พวกเราตระหนักดีว่าความเป็นแปลกแยกระหว่างเราและคนอื่นและพยายามที่จะเอาชนะ. ฟรอมม์เรียกว่าต้องการผูกพัน (need for relatedness) และมองว่าความรักคือ ความรู้สึกที่กว้างที่สุด
          2. การสร้างสรรค์ (Creativity)
          ฟรอมม์เชื่อว่า พวกเราต้องการที่จะเอาชนะ อยู่เหนือ(transcend) ข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งของการมีชีวิตอยู่ของเรา: ความรู้สึกว่าเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใครสักคนสร้างขึ้นมา. เราต้องการที่จะเป็นผู้สร้าง. การสร้างสรรค์สามารถทำได้หลายรูปแบบ: เราให้กำเนิดลูกหลาน ปลูกพืช สร้างภาชนะ วาดภาพ เขียนหนังสือ และรักคนอื่น. การสร้างสรรค์ แท้จริงแล้วก็ คือ การแสดงความรัก.
          3. การมีสังกัด (Rootedness)
          พวกเราต้องการมีสังกัด. เราต้องการที่จะรู้สึกว่าทุกแห่งเป็นเสมือนบ้านของเรา แม้กระนั้น ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เราก็มีบางอย่างที่แปลกแยกจากโลกตามธรรมชาติ.
รูปแบบที่ง่ายที่สุดคือการผูกพันอยู่กับแม่ของเราเอง. แต่การที่จะเติบโตขึ้น หมายความว่า เราต้องห่างเหินจากอ้อมอกของมารดา. หากไม่ยอมออกห่างจากมารดา ฟรอมม์เรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า การผิดประเวณีทางจิตวิทยา(psychological incest). เพื่อที่จะจัดการกับความยุ่งยากของโลกวัยผู้ใหญ่ เราต้องแสวงหาสังกัดที่ใหม่ และกว้างใหญ่ขึ้น. เราต้องแสวงหาภราดรภาพ(brotherhood) (และภคินีภาพ) กับเพื่อนมนุษย์.
           4. การรู้สึกว่าตนเองมีเอกลักษณ์(A sense of identity)
          "มนุษย์อาจจะถูกนิยามได้ว่าเป็นสัตว์ที่สามารถพูดได้.'" (p 62 of The Sane Society) ฟรอมม์เชื่อว่า พวกเราต้องการที่จะรู้สึกถึงอัตลักษณ์(Identity) แห่งปัจเจกบุคคล(individuality) เพื่อจะรักษาสมดลย์.
บางครั้ง ความต้องการนี้ก็มีอำนาจผลักดันให้เราแสวงหามัน ตัวอย่างเช่น การทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ได้มีสถานภาพหรือพยายามที่พยายามที่จะปรับตัวให้ได้มากที่สุด. บางครั้งพวกเราก็ทำให้ชีวิตเราถดถอยลงเพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม. แต่นี่เป็นเพียงอัตลักษณ์ที่จอมปลอม เป็นอัตลักษณ์ที่เราได้จากคนอื่น แทนที่จะเป็นอัตลักษณ์ที่เราพัฒนาขึ้นเองและ และอัตลักษณ์นั้นก็ไม่ได้สร้างความพึงพอใจให้เรา.
           5. กรอบแนวคิด (A frame of orientation)
           สุดท้าย พวกเราต้องการที่จะเข้าใจและโลกและสถานที่ต่างๆ. อีกครั้ง, สังคมของเรา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแง่มุมทางศาสนาของวัฒนธรรมเรา ที่มักจะให้คำอธิบายสิ่งต่างให้เราทราบ. หลายอย่าง อย่างเช่น ตำนาน ปรัชญา และศาสตร์ต่างที่ให้แนวคิดแก่เรา.
            ฟรอมม์กล่าวว่า ความต้องการที่จำเป็นจริงๆมี 2 อย่าง: อันดับแรก พวกเราต้องการกรอบแนวคิด (frame of orientation) เกือบทุกอย่างที่เราจะทำ. แม้ว่า สิ่งที่เลวร้ายอย่างหนึ่งจะดีกว่าอีกอย่างหนึ่ง! และทำให้คนคนนั้นถูกลวงอยู่บ่อยครั้ง. เราต้องการที่จะเชื่อ แม้ว่า บางครั้งจะเป็นผลร้าย. หากพวกเราไม่ต้องการคำอธิบายแบบคร่าวๆ เราจะสร้างคำอธิบายบางอย่างขึ้นมา โดยใช้การอ้างเหตุผล(rationalization).
ประการต่อมา คือ พวกเราต้องการที่จะมีกรอบแนวคิดที่ดี มีประโยชน์ และถูกต้อง. นี่คือ ที่ซึ่งเหตุผลเข้ามาเกี่ยวข้อง. นี่คือสิ่งดีๆที่พ่อแม่และคนอื่นๆอธิบายโลกและชีวิตของเราให้เราทราบ แต่ถ้าไม่มีละ มันจะเป็นอะไรดี? กรอบแนวคิดต้องมีเหตุผล.



















ทฤษฎีของ Karen Horney

ทฤษฎีของ Karen Horney

           แนวความคิดของ Karen Horney คาร์เรน ฮอร์เนย์ (18851952) นักจิตวิเคราะห์ คาร์เรน ฮอร์เนย์ ได้อธิบายว่ามนุษย์มีความต้องการดังนี้
1.  ความต้องการใฝ่สัมพันธ์และการยอมรับยกย่อง ความต้องการที่ไม่แยกแยะ การที่ทำให้ผู้อื่นพอใจและให้เขายอมรับตนเอง (affection and approval)
2.  ความต้องการคู่ และต้องการให้มีผู้ที่ดูแลคุ้มครองตนเอง ต้องการความรัก (partner)
3.  ความต้องการจำกัดตนเองในวงแคบ ให้มีคนคอยสั่ง (restrict one's life to narrow borders)
4.  ความต้องการอำนาจ ที่จะควบคุมผู้อื่น ( need for power, for control over others)
5.  ความต้องการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น ( to exploit others and get the better of them)
6.  ความต้องการการยอมรับทางสังคม ความภาคภูมิใจ (social recognition or prestige)
7.  ความต้องการได้รับการชื่นชมโดยส่วนตัว ต้องการเป็นคนสำคัญ มีค่า (personal admiration)
8.  ความต้องการความสำเร็จ ต้องการเป็นที่ 1 (personal achievement.)
9.  ความต้องการความเป็นอิสระ (self-sufficiency and independence)
10. ความต้องการความสมบูรณ์สุด (perfection and unassailability)
เธอเสนอว่ามนุษย์แบ่งออกได้เป็นสามประเภท ตามพื้นฐานของความวิตกกังวลและอาการทางจิตประสาทของมนุษย์ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้
         1. การเข้าหาคน (พวกยอมคน) Compliance ได้แก่ ความต้องการที่ 1 ,2 และ 3
         2.  การพุ่งเข้าใส่คน (พวกก้าวร้าว) Aggression ได้แก่ ความต้องการที่ 4-8
         3.  การหลีกหนีคน (พวกใจลอย) Withdrawal ได้แก่ ความต้องการที่ 9,10 และ 3
ผลงานวิจัยของฮอร์เนย์พบว่า ไทป์ย่อยในกลุ่มต่าง ๆ เช่น
กลุ่มก้าวร้าว มีคนอยู่สามประเภทคือ
          -      คนหลงตัวเอง
          -      มนุษย์สมบูรณ์แบบ
          -      คนจองหอง
กลุ่มใจลอย 
กลุ่มบุคลิก ชอบถอนตัว   ชอบต่อต้าน
กลุ่มยอมคน แบ่งย่อยออกเป็น 3 กลุ่มย่อยอีกคือ
           -      พวกรักสนุก
           -      พวกทะยานอยาก

            -     พวกปรับตัว

ทฤษฎีตัวตน (Self Theory) ของ คาร์ล โรเจอร์

ทฤษฎีตัวตน (Self Theory) ของ คาร์ล โรเจอร์



                ทฤษฎีตัวตน (Self Theory) ของ คาร์ล โรเจอร์ การรับรู้ต้องเริ่มจากรับรู้ตนเองให้ถูกต้องก่อน ให้มองตนเองอย่างถูกต้องแท้จริง นำข้อดีของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก้ไขข้อลบ หรือถ้ายังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยน ก็ให้รับรู้และหลีกเลี่ยงที่จะเกิดข้อเสียนั้นให้น้อยที่สุด ตามทฤษฎีบอกเอาไว้ว่า บุคคลที่มีประสบการณ์ได้รับการเลี้ยงดูจากครอบครัวที่พ่อแม่ให้ความรักกับลูกโดยปราศจากเงื่อนไข จะมีตัวตนทั้ง 3 ตรงกันค่อนข้างสูง แต่บุคคลแต่ละคนก็ได้รับการเลี้ยงดูในวัยเด็กที่ต่างกัน การมองย้อนไปแล้วนำมาช่วยปรับแก้ไขตนเองในปัจจุบันก็สามารถช่วยได้เช่นกัน ดังนั้นขอเสนอวิธีการปรับใช้ในแต่ละหัวข้อ ดังนี้                                                                                                                                                                        1.ตนที่ตนมองเห็น (Self Concept) รวบรวมข้อมูลตนตามที่ตนมองเห็นออกมาก่อน อาจจะจดบันทึกข้อมูลไว้ตามที่นึกได้ ไม่จำเป็นต้องนึกให้หมดในครั้งเดียว เพราะบางทีเราก็ลืมเรื่องบางอย่างของตนเองได้ มองตามที่เราเคยเห็นว่าตนเองเป็นอย่างไรมาก่อน ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง
          2.ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) คือ ตัวตนตามข้อเท็จจริง ข้อมูลคล้ายกับตนที่มองเห็น แต่เป็นสิ่งที่ยากเพราะบางคนอาจจะเข้าข้างตนเอง ไม่ยอมรับรับตามที่เป็นจริงเพราะรู้สึกด้อยกว่าคนอื่น วิธีที่ช่วยได้ นอกจากตนเองมองตนเองแล้ว อาจจะสังเกตจากที่คนอื่นพูดถึงเรา อาจจะเป็นเพื่อนสนิท แต่ต้องมีการกลั่นกรองด้วย เพราะบางคนไม่ชอบเรา อาจจะพยายามพูดให้เราด้อยกว่า บางคนกลัวเราเสียในพูดแต่สิ่งที่ดี ต้องพยายามที่จะตัดข้อมูลที่เป็นเท็จทั้งจากตัวเรา และคนรอบข้างออก การมองตนตามที่เป็นจริงก็ต้องใช้ระยะเวลา ไม่จำเป็นต้องเร่งมองให้ออกในครั้งเดียว
         3.ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) คือตัวตนที่อยากมีอยากเป็น เป็นข้อมูลที่ทุกคนมีอยู่ในใจอยู่แล้ว แต่บางคนอาจจะปฏิเสธสิ่งที่อยากเป็น แล้วเลือกอย่างอื่นที่ง่ายกว่า ทั้งที่จริงไม่ชอบ เช่น เป็นคนพูดไม่เก่ง อยากพูดเก่งเวลานำเสนองาน แต่เคยลองครั้งแรกแล้วทำไม่ได้ก็สร้างเกราะขึ้นมาด้วยการปฏิเสธสิ่งนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะข้อมูลที่ได้ก็จะไม่ถูกต้อง ทำให้เราไม่สามารถปรับ ตัวตนของเราได้
ตัวอย่าง การพัฒนาตัวตนของนาย ก

ตนที่ตนมองเห็น คือ พูดน้อย เก็บตัว ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ทำให้ไม่มีผลงาน เพราะไม่กล้าที่จะนำเสนอ

ตนตามที่เป็นจริง คือ มีความคิดสร้างสรรค์ แต่กลัวว่านำเสนอไปแล้วจะผิด ทำให้ไม่กล้าเสนอ

ตนตามอุดมคติ คือ อยากเป็นคนกล้าแสดงออก เข้าสังคมเก่ง จะได้มีโอกาสเลื่อนตำแหน่ง

            นาย ก มีตัวตนที่ไม่ต่างกันมากนัก ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพเข้าช่วย พยายามฝึกพูด หรือเมื่อคิดงานได้ก็พยายามหัดนำเสนอ และพยายามเข้าสังคม อาจจะไปกับเพื่อนสนิท เพื่อหาเพื่อนใหม่อาจจะเป็นสมาชิกคลับต่าง ๆ เพราะถ้าเราสามารถพูดกับเพื่อนใหม่ได้โดยไม่ประหม่าก็จะทำให้เรากล้าแสดงออกมากขึ้น

            เป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาบุคลิกภาพคือ ตัวตนที่แท้จริงการปฏิบัติตามตัวตนเป็นสิ่งที่บุคคลแสดงจริง เป็นสิ่งที่จำเป็นสูงสุด บุคคลที่ยอมรับความเป็นตัวตนที่แท้จริงของเขาได้ ทำให้เขาได้รับความสุขและสมปรารถนา พวกเขาสามารถเปิดรับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้รับการยอมรับจากคนอื่นและเป็นอิสระไม่ต้องพึ่งพาใคร 

สรุป บุคลิกภาพนั้นเป็นสิ่งกำหนดต่อการประพฤติปฏิบัติของบุคคล ทั้งในการใช้ชีวิตประจำวัน และเป็นปัจจัยต่อความสำเร็จของงาน ซึ่งประกอบไปด้วย เชาว์ปัญญา ซึ่งช่วยในการวิเคราะห์วางแผน การมีเหตุผล แรงจูงใจ ส่วนทางด้านการวางตน การแต่งกาย กริยาท่าทาง กลายเป็นภาพลักษณ์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความน่าเชื่อถือ และความแตกต่างของทฤษฎี ถ้ามีการศึกษาให้เข้าใจแล้ว เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น เพื่อให้การดำเนินชีวิตที่ดีและมีประสิทธิภาพ




ทฤษฎีมนุษย์นิยมของอับราฮัม มาสโลว์ (Maslow’s Humanistic Theory)

ทฤษฎีมนุษย์นิยมของอับราฮัม มาสโลว์  (Maslow’s  Humanistic Theory)




           มาสโลว์เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมความดีงาม  และมีแนวโน้มพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้าไปสู่ขั้นที่สมบูรณ์ที่สุด(Self Actualization)มนุษย์มีศักยภาพที่จะชี้นำตนเอง มนุษย์ไม่อยู่นิ่ง  จะเปลี่ยนแปลงไปตาสถานการณ์ต่างๆ  และแสวงหาความเข้าใจตนเอง  ยอมรับตนเองทั้งส่วนดีส่วนบกพร่อง

ลักษณะของผู้ที่มีความเข้าใจตนเองอย่างแท้จริง
1. รับรู้ความเป็นจริงอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถอดทนกับความไม่แน่นอน
 2. ยอมรับตนเองและยอมรับผู้อื่น
3. มีความคิดและพฤติกรรมที่เป็นของตนเอง  ไม่ขึ้นกับผู้อื่น
4. มุ่งแก้ปัญหาต่างๆตรงสาเหตุ
5. เป็นตัวของตัวเอง
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สูง
7. มีชีวิตชีวา
 8. รู้สึกผูกพันกับธรรมชาติ
9. สนใจสังคม  เห็นใจและรักผู้อื่น
10.มีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล
11.มีความเป็นประชาธิปไตย
12.รู้สึกถึงความแตกต่างของมาตรฐานและจุดหมาย
13. ต้องมีอารมณ์ที่มีขอบเขต
14. มีความเป็นอิสระเมื่อต้องทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง

15.พร้อมที่จะเผชิญกับสภาพแวดล้อมหรือวัฒนธรรมที่ขัดแย้งกับความคิดของตนเอง