1 แนวความคิดตามทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ ซิกมัน
ฟรอยด์ (Sigmund Freud
) เป็นจิตแพทย์ชาวเวียนนา
ฟรอยด์ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับบุคลิกภาพไว้ดังต่อไปนี้
1.1
โครงสร้างของบุคลิกภาพ (Structure of Personality) ตามแนวความคิดของฟรอยด์นั้นเชื่อว่าบุคลิกภาพของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ส่วน
(1) อิด (Id) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่มีมาตั้งแต่กำเนิดโดยอยู่ในจิตไร้สำนึก
อิดจะประกอบไปด้วยสัญชาตญาณในการดำรงชีวิตซึ่งได้แก่ สัญชาตญาณทางเพศ แรงผลักดัน ทางชีววิทยา เช่น
ความหิว ควมากระหาย และสัญชาตญาณแห่งความตาย
การทำงานของอิดจะเป็นไปตามหลักของความพอใจ (Pleasure Principle) โดยเป็นการเสาะแสวงหาความสุขความสบาย
(2) อีโก้ (Ego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่มีลักษณะของความมีเหตุผลอยู่ในหลักความเป็นจริง
หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของอีโก้ก็คือตอบสนองความต้องการหรือความพึงพอใจให้กับอิด แต่เป็นการทำงานภายใต้หลักความเป็นจริง
(3) ซูปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่พัฒนาเมื่อเด็กอายุ 5 หรือ 6
ขวบ
ซึ่งประกอบด้วยคุณธรรมจริยธรรมอันเป็นผลมาจากการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ ซูเปอร์อีโก้จะอยู่ในจิตสำนึกและจิตไร้สำนึก ประกอบด้วย
2 ส่วน คือ
3.1 มโนธรรม
(Concience)
เป็นส่วนของความละอายและเกรงกลัวต่อการทำผิด
3.2 อุดมคติแห่งตน (Ego - Ideal) เป็นส่วนของความคาดหวังในสิ่งที่ดีงาม
การทำงานของโครงสร้างทั้ง
3
ส่วนนั้นจะมีความสัมพันธ์กันและผสมผสานกันการทำงานของอิด อีโก้
และซูปเปอร์อีโก้ ที่เป็นไปอย่างสมดุลกัน กล่าวคือ
อิดกันซูปเปอร์อีโก้จะทำหน้าที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่าง
ส่วนอีโก้ทำหน้าที่ประสานการทำงานของระบบทั้งหมด
อิดแสวงหาความสุขความพอใจให้แก่ตนเองซูปเปอร์อีโก้เป็นผู้ค่อยควบคุมให้การเกิดกระทำในสิ่งที่ดี
1.2 ขั้นพัฒนาการของบุคลิกภาพ ฟรอยด์ได้แบ่งพัฒนาการทางบุคลิกภาพของมนุษย์ตามวัย ได้ 5
ระยะ ดังนี้
(1) ขั้นปาก ( Oral Stage) ช่วงอายุแรกเกิด –
12 หรือ 18 ความสุขและความพึงพอใจของเด็กจะอยู่ที่ปากเช่น
การดูดนม การสัมผัสด้วยปาก หากเด็กได้รับการตอบสนองเต็มที่
เด็กก็จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีบุคลิกภาพเหมาะสม
หากตรงกันข้ามเด็กจะเกิดการชะงักถดถอย (Fixation) และมาแสดงพฤติกรรมในช่วงนี้อีกในวัยผู้ใหญ่
เช่น ชอบนินทาว่าร้าย สูบบุหรี่ กินจุบ-กินจิบ เป็นต้น
(2) ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) ช่วงอายุตั้งแต่ 1 หรือ 1ขวบครึ่ง -3 ขวบ
ความสุขและความพึงพอใจของเด็กจะอยู่ที่ทวารหนัก
หากเด็กได้รับการลงโทษและฝึกหัดด้วยวิธีรุนแรงจะทําให้เด็กเกิดความรู้สึกไม่พอใจและเก็บ
ความรู้สึกที่ไม่ดีไว้ที่จิตไร้สํานึก
และจะมีผลต่อบุคลิกภาพในเวลาต่อมา กล่าวคือ เป็นคนขี้เหนียว เจ้าระเบียบ ชอบทําร้ายให้ผู้อื่นเจ็บปวด
อาจเป็นสาเหตุของโรคประสาทชนิด ยํ้าคิดยํ้าทํา
(3 )ขั้นเพศ (Phallic Stage) อายุ 3-6 ขวบ หมายถึง
ความสนใจของเด็กจะเปลี่ยนมาสนใจเกี่ยวกับอวัยวะเพศ มักถามว่าตนเกิดมาจากไหน ฯลฯ
ในขั้นนี้เด็กจะรักพ่อแม่ที่เป็นเพศตรงข้ามกับตนและลักษณะเช่นนี้ทําให้เด็กเลียนแบบบทบาททางเพศจากพ่อหรือแม่ที่เป็นต้นแบบ
หากพ่อแม่ปฏิบัติตามบทบาทที่ดีเหมาะสมเป็นตัวแบบที่ดี
เด็กก็จะเลียนแบบและพัฒนาบทบาททางเพศของตนได้อย่างดี ในระยะนี้มีปรากฏการณ์ที่สําคัญ คือ ปมออดิปุส
(Oedipus complex) เป็นปรากฏการณ์ที่เด็กชายมีความรู้สึกทางเพศ
รักและผูกพันแต่แม่ขณะเดียวกันก็มีความรู้สึกเกียจพ่อซึ่งเป็นผู้มาแย่งความรักจากแม่ไป
ส่วนเด็กหญิงก็ทํานองเดียวกัน เด็กหญิงจะมีความรู้สึกทางเพศ รักและผูกพันกับพ่อ
ขณะเดียวกันก็มีความรู้สึกเกียจแม่ซึ่งเป็ นผู้มาแย่งความรักจากพ่อไป
(4) ระยะความต้องการแฝง (Latency
Stage) อายุ 7-14 ปี เป็นวัยเข้าโรงเรียน
วัยนี้ดูภายนอกค่อนข้างเงียบสงบ หลังจากผ่านระยะ Oedipus complex มาแล้ว ความรู้สึกพอใจทางเพศจะถูกเก็บกดเอาไว้
เด็กจะเริ่มออกจากบ้านไปสังคมภายนอก เช่น สังคมในโรงเรียน เด็กจะมีกิจกรรมใหม่ๆที่เพิ่มขึ้น
(5) ระยะขั้นวัยรุ่น (Genital
Stage)อายุ 13-18 ขวบ หมายถึง
เด็กหญิงจะเริ่มมีความสนใจเด็กชายและเด็กชายก็เริ่มมีความสนใจเด็กหญิงเป็
นระยะที่จะมีความสัมพันธ์ระหว่างเพศอย่างแท้จริงการอธิบายสาเหตุของพฤติกรรมผิดปกติ
1.การเสียสมดุลของ Id,
Ego and Super Ego
- Ego ไม่สามารถปรับสภาพให้เกิดความพอดีระหว่างความต้องการตามสัญชาตญาณ
(Id) และการถูกตําหนิโดย
มโนธรรม (Super
Ego) ได้ จึงเกิดความขัดแย้งในจิตใจ บุคคลจึงใช้กลไกป้
องกันทางจิตเป็นทางออกเพื่อแก้ปัญหา
หากกลไกป้องกันทางจิตถูกนํามาใช้อย่างไม่เหมาะสมก็อาจก็อาจทําให้เกิดพยาธิภาพในจิตใจได้
2.การไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการในแต่ละขั้นตอนอย่างเหมาะสม
- ทําให้เด็กเกิดความขัดแย้ง
เด็กจะใช้พลังงานส่วนหนึ่งในการขจัดความขัดแย้งทําให้พลังในการปฏิบัติกิจกรรม
หลักในขั้นต่อไปเหลือน้อยลง พัฒนาการทางจิตใจหยุดชะงัก
(Fixation)
ที่จุดนั้น
- เมื่อบุคคลเกิดปัญหาเมื่อเวลาต่อมา
ก็มีแนวโน้มที่จะใช้กลไกป้องกันทางจิตที่เคยหยุดชะงักอีก ทําให้การแสดงออกของพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับวัยและสภาพสังคม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น