ทฤษฎีตัวตน (Self Theory) ของ
คาร์ล โรเจอร์
ทฤษฎีตัวตน (Self Theory) ของ คาร์ล โรเจอร์ การรับรู้ต้องเริ่มจากรับรู้ตนเองให้ถูกต้องก่อน
ให้มองตนเองอย่างถูกต้องแท้จริง นำข้อดีของตนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แก้ไขข้อลบ หรือถ้ายังไม่พร้อมที่จะเปลี่ยน
ก็ให้รับรู้และหลีกเลี่ยงที่จะเกิดข้อเสียนั้นให้น้อยที่สุด ตามทฤษฎีบอกเอาไว้ว่า
บุคคลที่มีประสบการณ์ได้รับการเลี้ยงดูจากครอบครัวที่พ่อแม่ให้ความรักกับลูกโดยปราศจากเงื่อนไข
จะมีตัวตนทั้ง 3 ตรงกันค่อนข้างสูง
แต่บุคคลแต่ละคนก็ได้รับการเลี้ยงดูในวัยเด็กที่ต่างกัน
การมองย้อนไปแล้วนำมาช่วยปรับแก้ไขตนเองในปัจจุบันก็สามารถช่วยได้เช่นกัน
ดังนั้นขอเสนอวิธีการปรับใช้ในแต่ละหัวข้อ ดังนี้ 1.ตนที่ตนมองเห็น (Self
Concept) รวบรวมข้อมูลตนตามที่ตนมองเห็นออกมาก่อน อาจจะจดบันทึกข้อมูลไว้ตามที่นึกได้
ไม่จำเป็นต้องนึกให้หมดในครั้งเดียว เพราะบางทีเราก็ลืมเรื่องบางอย่างของตนเองได้
มองตามที่เราเคยเห็นว่าตนเองเป็นอย่างไรมาก่อน ไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริง
2.ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) คือ ตัวตนตามข้อเท็จจริง ข้อมูลคล้ายกับตนที่มองเห็น
แต่เป็นสิ่งที่ยากเพราะบางคนอาจจะเข้าข้างตนเอง
ไม่ยอมรับรับตามที่เป็นจริงเพราะรู้สึกด้อยกว่าคนอื่น วิธีที่ช่วยได้
นอกจากตนเองมองตนเองแล้ว อาจจะสังเกตจากที่คนอื่นพูดถึงเรา อาจจะเป็นเพื่อนสนิท
แต่ต้องมีการกลั่นกรองด้วย เพราะบางคนไม่ชอบเรา อาจจะพยายามพูดให้เราด้อยกว่า
บางคนกลัวเราเสียในพูดแต่สิ่งที่ดี
ต้องพยายามที่จะตัดข้อมูลที่เป็นเท็จทั้งจากตัวเรา และคนรอบข้างออก
การมองตนตามที่เป็นจริงก็ต้องใช้ระยะเวลา ไม่จำเป็นต้องเร่งมองให้ออกในครั้งเดียว
3.ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) คือตัวตนที่อยากมีอยากเป็น เป็นข้อมูลที่ทุกคนมีอยู่ในใจอยู่แล้ว
แต่บางคนอาจจะปฏิเสธสิ่งที่อยากเป็น แล้วเลือกอย่างอื่นที่ง่ายกว่า
ทั้งที่จริงไม่ชอบ เช่น เป็นคนพูดไม่เก่ง อยากพูดเก่งเวลานำเสนองาน
แต่เคยลองครั้งแรกแล้วทำไม่ได้ก็สร้างเกราะขึ้นมาด้วยการปฏิเสธสิ่งนั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะข้อมูลที่ได้ก็จะไม่ถูกต้อง
ทำให้เราไม่สามารถปรับ ตัวตนของเราได้
ตัวอย่าง
การพัฒนาตัวตนของนาย ก
ตนที่ตนมองเห็น
คือ พูดน้อย เก็บตัว ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ทำให้ไม่มีผลงาน
เพราะไม่กล้าที่จะนำเสนอ
ตนตามที่เป็นจริง
คือ มีความคิดสร้างสรรค์ แต่กลัวว่านำเสนอไปแล้วจะผิด ทำให้ไม่กล้าเสนอ
ตนตามอุดมคติ
คือ อยากเป็นคนกล้าแสดงออก เข้าสังคมเก่ง จะได้มีโอกาสเลื่อนตำแหน่ง
นาย ก มีตัวตนที่ไม่ต่างกันมากนัก
ใช้วิธีการปรับเปลี่ยนบุคลิกภาพเข้าช่วย พยายามฝึกพูด
หรือเมื่อคิดงานได้ก็พยายามหัดนำเสนอ และพยายามเข้าสังคม อาจจะไปกับเพื่อนสนิท
เพื่อหาเพื่อนใหม่อาจจะเป็นสมาชิกคลับต่าง ๆ
เพราะถ้าเราสามารถพูดกับเพื่อนใหม่ได้โดยไม่ประหม่าก็จะทำให้เรากล้าแสดงออกมากขึ้น
เป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาบุคลิกภาพคือ
“ตัวตนที่แท้จริง” การปฏิบัติตามตัวตนเป็นสิ่งที่บุคคลแสดงจริง
เป็นสิ่งที่จำเป็นสูงสุด บุคคลที่ยอมรับความเป็นตัวตนที่แท้จริงของเขาได้
ทำให้เขาได้รับความสุขและสมปรารถนา พวกเขาสามารถเปิดรับประสบการณ์ใหม่ ๆ
ได้รับการยอมรับจากคนอื่นและเป็นอิสระไม่ต้องพึ่งพาใคร
สรุป
บุคลิกภาพนั้นเป็นสิ่งกำหนดต่อการประพฤติปฏิบัติของบุคคล
ทั้งในการใช้ชีวิตประจำวัน และเป็นปัจจัยต่อความสำเร็จของงาน ซึ่งประกอบไปด้วย
เชาว์ปัญญา ซึ่งช่วยในการวิเคราะห์วางแผน การมีเหตุผล แรงจูงใจ
ส่วนทางด้านการวางตน การแต่งกาย กริยาท่าทาง กลายเป็นภาพลักษณ์
ซึ่งจะช่วยส่งเสริมความน่าเชื่อถือ และความแตกต่างของทฤษฎี
ถ้ามีการศึกษาให้เข้าใจแล้ว เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น
เพื่อให้การดำเนินชีวิตที่ดีและมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น