วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

ทฤษฎีบุคลิกภาพของอีริค ฟรอมม์

ทฤษฎีบุคลิกภาพของอีริค ฟรอมม์


          เมื่อพิจารณาตามประวัติแล้ว ทฤษฎีของฟรอมม์ค่อนข้างจะอิงกับทฤษฎีของฟรอยด์และมาร์ค. เนื่องจากฟรอยด์ เน้นเรื่องจิตไร้สำนึก แรงขับทางชีวภาพความเก็บกด และอื่นๆ. หรืออีกนัยหนึ่ง ฟรอยด์มองว่า บุคลิกภาพของเราถูกกำหนดโดยชีววิทยา.ตรงกันข้าม มาร์คซ์ถูกกำหนดโดยสังคมของเขาและโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบเศรษฐกิจ.
ฟรอมม์อธิบายว่า คนเราจะหลีกหนีจากการมีเสรีภาพ(Escape from freedom) ใน 3 ลักษณะคือ:
          1. เผด็จการ(Authoritarianism) เราจะหลีกเลี่ยงจากเสรีภาพโดยการหลอมรวมตนเองเข้าเป็นกับคนอื่นๆ โดยการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบอบเผด็จการ)อย่างเช่น สังคมในยุคกลาง. วิธีนี้กระทำได้ใน 2 ลักษณะ. อย่างแรก คือยอมรับอำนาจของผู้อื่น เป็นฝ่ายอ่อนน้อมยอมตาม. อีกลักษณะหนึ่งคือ เอาตนเองศูนย์กลางอำนาจ และบังคับให้ผู้อื่นอยู่ในอำนาจของตน. แต่ไม่ว่าทางใด คุณก็เป็นคนที่หลีกหนีจากอัตลักษณ์เฉพาะแห่งตน
          2. การทำลาย (Destructiveness) พวกเผด็จการนิยมจะตอบสนองต่อชีวิตที่เจ็บปวดด้วยการทำร้ายตนเองในทำนองว่า: ดูสิ ถ้าไม่ฉันอยู่เสียแล้ว จะมีอะไรทำร้ายฉันได้มั๊ย? ส่วนพวกอื่นจะตอบสนองต่อความเจ็บปวดโดยการต่อต้านโลก: ถ้าฉันทำลายโลกพังย่อยยับแล้ว ดูสิว่ามันจะทำร้ายฉันได้มั๊ย? การหลีกเลี่ยงจากเสรีภาพแบบนี้ อยู่ในรูปของสิ่งเลวร้ายในชีวิตอันไม่น่าพึงปรารถนาในลักษณะต่างๆ การทำลายทรัพย์สิน(vandalism), การสร้างความอัปยศอดสูให้ผู้อื่น(humiliation), การจอล้างจองผลาญ, อาชญากร, ผู้ก่อการร้าย
           3. การทำตัวกลมกลืนโดยอัตโนมัติ (Automaton conformity) พวกเผด็จการนิยมจะหลีกเลี่ยงการมีเสรีภาพโดยการซ่อนอยู่ภายใต้ชนชั้นเผด็จการ. แต่สังคมเน้นคุณภาพ! จึงมีชนชั้นที่จะให้ซ่อนได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น (แม้ว่า ความมั่งคั่งจะมีอยู่มากมายสำหรับใครก็ตามที่ต้องการมัน แต่บางคนก็ไม่ต้องการมัน). เมื่อเราต้องการที่จะหลบซ่อน เราจะหันไปซ่อนในวัฒนธรรมมวลชน(mass culture)แทน. เมื่อฉันต้องแต่งตัวในตอนเช้า มีหลายหลายที่ฉันต้องตัดสินใจ! แต่เมื่อฉันใคร่ครวญว่า ฉันกำลังจะสวมใส่อะไร ความคับข้องใจของฉันก็อันตรธานไปทันใด. แม้กระทั่งเวลาที่ฉันดูโทรทัศน์ รายการอย่างเช่น รายการพยากรณ์ชีวิตจะบอกฉันอย่างรวดเร็วและเฉียบขาด. ถ้าฉันมีความคิดเห็น พูด คิด รู้สึกเหมือนคนอื่นๆในสังคม เมื่อนั้น ฉันจะจางหายไปในฝูงชน และฉันไม่จำเป็นต้องรู้ถึงเสรีภาพและความรับผิดชอบของฉัน. พวกตัวกลมกลืนโดยอัตโนมัติจึงเป็นของคู่กับกับพวกนิยมเผด็จการ.
จิตไร้สำนึกทางสังคม (The social unconscious)

          ครอบครัวส่วนใหญ่มักจะเป็นผลสะท้อนของสังคมและวัฒนธรรมของเรา. ฟรอมม์อธิบายย้ำว่า พวกเรารับค่านิยมผ่านการอบรมเลี้ยงดู. บ่อยครั้งที่เรามักจะลืมไปว่า สังคมเข้ามาพัวพันกับเรื่องต่างในชีวิตเรามากแค่ไหน
          1. แนวคิดแบบมือขอ (The receptive orientation) คนเหล่านี้มักจะคาดหวังว่าจะได้รับในสิ่งที่ตนเองต้องการ. ถ้าเขาไม่ได้ในทันทีเขาจะรอต่อไป. พวกเขาเชื่อว่า สิ่งของและความพึงพอใจจะมาจากนอกตัวเขา.
          2. แนวคิดแบบแสวงหาผลประโยชน์ (The exploitative orientation) คนเหล่านี้จะคาดหวังว่าจะได้รับสิ่งที่เขาต้องการ. ความจริงก็คือ สิ่งต่างๆจะมีค่ามากขึ้นถ้าเข้าได้มาจากผู้อื่น: ทรัพย์สินที่ได้มาโดยการปล้นชิง แนวคิดที่ขโมยมาจากผู้อื่น ความรักที่ได้มาโดยการใช้อำนาจบีบบังคับ
         3. แนวคิดแบบเก็บสะสม (The hoarding orientation) พวกที่ชอบเก็บสะสมก็คิดเอาแต่จะเก็บสะสมอย่างเดียว. ทุกอย่างสำหรับเป็นสิ่งที่ต้องเก็บสะสมและเก็บสะสมให้มากยิ่งขึ้น. แม้กระทั้งคนรักก็เป็นสิ่งที่จะต้องเก็บสะสม, รักษา หรือซื้อหาเอาไว้
         4. แนวคิดแบบการตลาด (The marketing orientation) คนที่มีบุคลิกภาพแบบการตลาด คิดแต่จะขายอย่างเดียว. ความสำเร็จขึ้นอยู่กับว่าฉันสามารถขายตัวฉันเอง สร้างตัวเองเป็นสินค้า และโฆษณาตนเองได้อย่างไร. ครอบครัวฉัน โรงเรียนของฉัน งานของฉัน เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของฉัน ทุกอย่างเป็นการโฆษณา และจะต้อง ขายได้.แม้ความรักเองก็ถูกมองว่าเป็นเพียงความติดต่อสัมพันธ์กันเท่านั้น
         5. แนวคิดแบบเน้นผลิตผล (The productive orientation) เป็นบุคลิกภาพวัฒนะซึ่งหลายครั้ง ฟรอมม์อ้างว่า หมายถึง บุคคลที่ไม่เสแสร้ง. คนแบบนี้คือจะที่ไม่ปฏิเสธธรรมชาติทางกายและสังคม และไม่ห่างเหินจากเสรีภาพและความรับผิดชอบ. คนประเภทนี้จะมาจากครอบครัวที่ให้ความรักโดยไม่มีการครอบงำใช้กฎอย่างมีเหตุผล และให้เสรีภาพในการปรับตัวเข้าหากัน.
ความต้องการของมนุษย์ (Human Needs)

           ฟรอมม์ก็เหมือนกับหลายคนที่เชื่อว่า มนุษย์มีความต้องการมากกว่าความต้องการทางกายซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐาน ซึ่งฟรอยด์และนักพฤติกรรมนิยมและนักคิดใช้อธิบายถึงพฤติกรรมมนุษย์. ฟรอมม์เรียกว่า ความต้องการของมนุษย์ (human needs)
          1. ความสัมพันธ์ (Relatedness)
           ในฐานะที่เป็นมนุษย์ พวกเราตระหนักดีว่าความเป็นแปลกแยกระหว่างเราและคนอื่นและพยายามที่จะเอาชนะ. ฟรอมม์เรียกว่าต้องการผูกพัน (need for relatedness) และมองว่าความรักคือ ความรู้สึกที่กว้างที่สุด
          2. การสร้างสรรค์ (Creativity)
          ฟรอมม์เชื่อว่า พวกเราต้องการที่จะเอาชนะ อยู่เหนือ(transcend) ข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งของการมีชีวิตอยู่ของเรา: ความรู้สึกว่าเราเป็นสิ่งมีชีวิตที่ใครสักคนสร้างขึ้นมา. เราต้องการที่จะเป็นผู้สร้าง. การสร้างสรรค์สามารถทำได้หลายรูปแบบ: เราให้กำเนิดลูกหลาน ปลูกพืช สร้างภาชนะ วาดภาพ เขียนหนังสือ และรักคนอื่น. การสร้างสรรค์ แท้จริงแล้วก็ คือ การแสดงความรัก.
          3. การมีสังกัด (Rootedness)
          พวกเราต้องการมีสังกัด. เราต้องการที่จะรู้สึกว่าทุกแห่งเป็นเสมือนบ้านของเรา แม้กระนั้น ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เราก็มีบางอย่างที่แปลกแยกจากโลกตามธรรมชาติ.
รูปแบบที่ง่ายที่สุดคือการผูกพันอยู่กับแม่ของเราเอง. แต่การที่จะเติบโตขึ้น หมายความว่า เราต้องห่างเหินจากอ้อมอกของมารดา. หากไม่ยอมออกห่างจากมารดา ฟรอมม์เรียกพฤติกรรมแบบนี้ว่า การผิดประเวณีทางจิตวิทยา(psychological incest). เพื่อที่จะจัดการกับความยุ่งยากของโลกวัยผู้ใหญ่ เราต้องแสวงหาสังกัดที่ใหม่ และกว้างใหญ่ขึ้น. เราต้องแสวงหาภราดรภาพ(brotherhood) (และภคินีภาพ) กับเพื่อนมนุษย์.
           4. การรู้สึกว่าตนเองมีเอกลักษณ์(A sense of identity)
          "มนุษย์อาจจะถูกนิยามได้ว่าเป็นสัตว์ที่สามารถพูดได้.'" (p 62 of The Sane Society) ฟรอมม์เชื่อว่า พวกเราต้องการที่จะรู้สึกถึงอัตลักษณ์(Identity) แห่งปัจเจกบุคคล(individuality) เพื่อจะรักษาสมดลย์.
บางครั้ง ความต้องการนี้ก็มีอำนาจผลักดันให้เราแสวงหามัน ตัวอย่างเช่น การทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ได้มีสถานภาพหรือพยายามที่พยายามที่จะปรับตัวให้ได้มากที่สุด. บางครั้งพวกเราก็ทำให้ชีวิตเราถดถอยลงเพื่อจะได้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม. แต่นี่เป็นเพียงอัตลักษณ์ที่จอมปลอม เป็นอัตลักษณ์ที่เราได้จากคนอื่น แทนที่จะเป็นอัตลักษณ์ที่เราพัฒนาขึ้นเองและ และอัตลักษณ์นั้นก็ไม่ได้สร้างความพึงพอใจให้เรา.
           5. กรอบแนวคิด (A frame of orientation)
           สุดท้าย พวกเราต้องการที่จะเข้าใจและโลกและสถานที่ต่างๆ. อีกครั้ง, สังคมของเรา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งแง่มุมทางศาสนาของวัฒนธรรมเรา ที่มักจะให้คำอธิบายสิ่งต่างให้เราทราบ. หลายอย่าง อย่างเช่น ตำนาน ปรัชญา และศาสตร์ต่างที่ให้แนวคิดแก่เรา.
            ฟรอมม์กล่าวว่า ความต้องการที่จำเป็นจริงๆมี 2 อย่าง: อันดับแรก พวกเราต้องการกรอบแนวคิด (frame of orientation) เกือบทุกอย่างที่เราจะทำ. แม้ว่า สิ่งที่เลวร้ายอย่างหนึ่งจะดีกว่าอีกอย่างหนึ่ง! และทำให้คนคนนั้นถูกลวงอยู่บ่อยครั้ง. เราต้องการที่จะเชื่อ แม้ว่า บางครั้งจะเป็นผลร้าย. หากพวกเราไม่ต้องการคำอธิบายแบบคร่าวๆ เราจะสร้างคำอธิบายบางอย่างขึ้นมา โดยใช้การอ้างเหตุผล(rationalization).
ประการต่อมา คือ พวกเราต้องการที่จะมีกรอบแนวคิดที่ดี มีประโยชน์ และถูกต้อง. นี่คือ ที่ซึ่งเหตุผลเข้ามาเกี่ยวข้อง. นี่คือสิ่งดีๆที่พ่อแม่และคนอื่นๆอธิบายโลกและชีวิตของเราให้เราทราบ แต่ถ้าไม่มีละ มันจะเป็นอะไรดี? กรอบแนวคิดต้องมีเหตุผล.



















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น