วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ จี จุง ( Carl G. Jung Theory )

ทฤษฎีบุคลิกภาพของคาร์ จี จุง ( Carl G. Jung Theory )
 
            
แนวคิดที่สำคัญ ในช่วงแรกนั้นJung เน้นการศึกษาเรื่องจิตไร้สำนึก เช่นเดียวกับฟรอยด์แต่ต่อมา ได้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่างๆ อย่างลึกซึ้งขึ้น
ทำให้มี Jung มีแนวความคิดแตกต่างกัน โดยมีความเชื่อว่ามนุษย์ที่เกิดมามีแนวโน้มที่จะรับมรดกจากบรรพบุรุษของเขาในขณะที่ ฟรอยด์ เน้นจุดเริ่มต้นของบุคลิกภาพจากหลังกำเนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทารก นอกจากนี้ Jung ยังได้อธิบายว่า บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล

            ในส่วนที่เกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์นั้นทฤษฎีนี้เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์เป็นผลรวม ของอนาคตกาลกับอดีตกาล (Teleology and Causality) พฤติกรรมของมนุษย์ได้รับเงื่อนไขไม่เพียงแต่ ความแตกต่างที่เกิดจาก อดีตกาลเท่านั้น แต่ยังเกิดจากปัจจัยอื่นอีกเช่น ความมุ่งหมาย และความปรารถนาในอนาคตกาลของบุคคลอีกด้วย โดยอดีตกาลเป็น ความจริงที่แสดงออก ในขณะที่อนาคตกาล เป็นเสมือนศักยภาพ ที่จะชี้นำบุคคลให้เกิดพฤติกรรมดังนั้นแนวความคิดที่เกี่ยวกับ บุคลิกภาพคือความคาดหวัง ในผลข้างหน้าอันเป็นการรับรู้ถึงการมองไปสู่อนาคต ซึ่งเป็นสาเหตุให้บุคคลเกิด แนวทางใน การพัฒนาตนเอง ในทางสร้างสรรค์เพื่อแสวงหาความสมบูรณ์ และคำนึงถึง การเกิดมาเพื่อมีชีวิตใหม่อีกครั้งหนึ่ง ( Rebirth )

            อย่างไรก็ตามทฤษฎีของ Jung แตกต่างจาก Frued ที่อธิบายว่า พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นทางเพศ แต่ Jung เชื่อว่าบุคคลจะเป็นคนเช่นใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่วัยเด็กด้วยเช่นกันองค์ประกอบของจิต(Structural Components of Psyche) เป็นผลรวมทั้งหมดของบุคลิกภาพที่ประกอบด้วยระบบต่างๆ ซึ่งทำงานร่วมกันดังนี้
องค์ประกอบของจิต (Structural Components of Psyche) มี 3 ระบบคือ

1. โครงสร้างทางบุคลิกภาพ (Structure of Personality)
2. ตน ( Self )
3. ระบบความสัมพันธ์ภายใน (Interdependent Systems) ซึ๋งแสดงเป็นแผนภูมิ 2

องค์ประกอบของจิต (Structural Components of Psyche) มี 3 ระบบดังอธิบายคือ

1. โครงสร้างทางบุคลิกภาพ (Structure of Personality) ประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ สำคัญได้แก่ ตัวตน (Ego) ประสบการณ์ไร้สำนึก (Personal Unconscious ) จิตไร้สำนึกที่สะสมมาแต่อดีตกาล (Collective Unconscious) หน้ากาก (Persona) ลักษณะของหญิงที่มีอยู่ในชาย (Anima) และเงา (Shadow)                                                                                                                                                    1.1 ตัวตน (Ego)เป็นการรับรู้ในตนเองมีการระลึกรู้ เป็นจิตสำนึกซึ่งถือว่า Ego เป็นศูนย์กลางของความรู้สำนึก ทำให้เกิดบุคลิกภาพ และปม ( Complex ) ที่หมายถึงการรวบรวมความคิดต่างๆ เข้ามาเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเกิดจากความรู้สึกทั่วๆ ไป Ego ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของจิต ( Psyche ) ที่ทำให้บุคคลรับรู้พฤติกรรมของตน                                                                                                                              1.2 ประสบการณ์ไร้สำนึก (Personal Unconscious) เป็นส่วนที่ติดอยู่กับ Ego ที่ประกอบด้วยประสบการณ์ซึ่งครั้งหนึ่งยังอยู่ในจิตสำนึก(Conscious) แต่บุคคลพยายามเก็บกดไว้ ( Repressed ) การสะกดไว้จนลืม ( Forgotten ) หรือการเพิกเฉยไม่รับรู้ (Ignored) จากเหตุผลบางประการ เช่น เป็นประสบการณ์บางเรื่องที่ไม่เป็นที่พึงพอใจ เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้กำลังอ่อนลง ในระยะแรกจะทำให้เกิดการรับรู้อยู่ในระดับจิตสำนึก ลักษณะของประสบการณ์สามารถจะนำขึ้นมารับรู้ได้อีก เมื่อมีสิ่งเร้าที่เหมาะสมมากระตุ้น และเรื่องปม (Complex)                                                                                                                  1.3 จิตไร้สำนึกที่สะสมมาแต่อดีตกาล (Collective Unconscious) เป็นเสมือนที่รวบรวม และสะสมความทรงจำที่ซ่อนอยู่ภายใน และติดตาม สืบต่อ ตลอดจน ตกทอดเป็นมรดกจากบรรพบุรุษJung อธิบายว่า เมื่อย้อนหลังกลับไปในอดีตชาติใดๆ ก็ตามมนุษย์ย่อมได้รับสิ่งต่างๆ จากแม่ ซึ่งทำให้มนุษย์เกิดความสมบูรณ์ และมีศักยภาพประสบการณ์ระหว่างแม่กับทารกจะถูกถ่ายทอดกัน และสร้างเป็น รูปแบบในสมองของมนุษย์ตกทอดสืบต่อกัน มานานตั้งแต่อดีตชาติ ดังนั้น ปรากฏการณ์เหล่านี้จึงทำให้ทารกเกิดมาพร้อมกับ ความสามารถที่จะมองเห็น และพัฒนาความสามารถ ในการรับรู้ และโต้ตอบกับแม่ โดยผ่านประสบการณ์ และการฝึกหัด ในชาติปัจจุบัน โดยมีรากฐานมาจากอดีตชาติเป็นพื้นฐานที่อยู่เบื้องหลัง                                                                                                 
1.4 หน้ากาก(Persona) เป็นสิ่งที่ตัวละครใช้สวมไว้ เพื่อแสดงบทบาทต่างๆใน การแสดงหน้ากากยังแสดงปฏิกิริยา หรือตอบโต้กับ ข้อเรียกร้อง ทางสังคม และขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ในเวลาเดียวกัน หน้ากากก็มีส่วนเสีย เพราะทำให้บุคคลเรียนรู้ที่จะปิดบังตัวตนที่แท้จริงไว้
1.5 ลักษณะของหญิงที่มีอยู่ในชาย (Anima) และลักษณะของชายที่มีอยู่ในหญิง (Animus) หรืออาจเรียกว่าลักษณะเพศแฝงเร้น ซึ่งเป็นการอธิบายถึงลักษณะความเป็นหญิงในบุคลิกภาพของผู้ชาย เช่น ความอ่อนโยน ความนิ่มนวล เป็นต้นลักษณะความเป็นหญิง ที่มักแฝงไว้ในชาย (Anima) และลักษณะความเป็นชายในบุคลิกภาพของผู้หญิง เช่น ความเข้มแข็ง ความเด็ดเดี่ยว ที่มักแฝงไว้ในตัวหญิงเช่นกัน
1.6 เงา (Shadow) เป็นรูป (Archetypes) เป็นสิ่งที่เรียกว่า สัญชาตญาณพื้นฐานที่มีคล้ายกับสัตว์พฤติกรรมที่ยังไม่ได้ขัดเกลา หรือพฤติกรรมที่แสดงความรู้สึกก้าวร้าว พฤติกรรมที่เป็นศัตรูกับผู้อื่น หรือเป็นพฤติกรรม ที่ไม่น่าชื่นชมรวมถึงความคิด ความรู้สึก และการกระทำที่สังคมไม่ยอมรับ
2. ตน ( Self ) มนุษย์จะแสวงหาความสมบูรณ์ได้ก็โดยการผ่านทางหลักธรรมทางศาสนา ซึ่งทุกศาสนาจะกล่าวถึงสัจธรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวตน การแสวงหาหลักธรรมในทางศาสนาเป็นเรื่องของการแสวงหาเอกภาพ และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคคล ตลอดจนความต้องการเป็นผู้บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง สงบ

3. ระบบความสัมพันธ์ภายใน (Interdependent Systems)

ระบบความสัมพันธ์ภายในของบุคคลประกอบด้วย รูปแบบทางจิตวิทยาของบุคคลที่เป็นเจตคติพื้นฐาน (Basic Attitudes ) โดยสามารถแบ่งบุคลิกภาพของบุคคลออกเป็น 2 ประเภทคือ (Two Psychological Type)                                                                       
3.1 พวกแสดงตัว หรือผู้ที่มีเจตคติที่หันออกจากตนเอง (Extraversion)ซึ่งจะมีการแสดงออกที่เผชิญกับโลกภายนอก บุคคลประเภทนี้จะชอบแสดงตัว ชอบสังคม มักจะมีเพื่อนมากชอบพูดมากกว่าฟัง ช่างพูด ร่าเริง แจ่มใส มีความสามารถสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ชอบการเปลี่ยนแปลง มีนิสัยเปิดเผย มีความเชื่อมั่นบนพื้นฐานแห่งความเป็นจริง รู้จักผ่อนปรน และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
3.2 พวกเก็บตัว หรือผู้มีเจตคติหันเข้าหาตนเอง (Introversion)เป็นผู้ที่มุ่งเข้าหาตนเอง บุคคลเหล่านี้มักจะไม่กล้าตัดสินใจ ไม่แน่ใจ จิตใจไม่มั่นคง สงบเสงี่ยม ไม่ชอบสมาคมกับผู้อื่น เก็บตัว ชอบอยู่ตามลำพัง ไม่ยืดหยุ่น มักมีกฎเกณฑ์ที่ตายตัว ยึดมั่นในความรู้สึกของตนเอง อารมณ์หงุดหงิด และหวั่นไหวง่าย มักจะมีความรู้สึกเหงา และว้าเหว่ และเมื่อเกิดปัญหาก็มักจะแยกตัวออกไปจากสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดปัญหา นอกจากนี้ ยังไม่มีความไว้วางใจผู้อื่นการมองผู้อื่นด้วยความพินิจพิเคราะห์ ตลอดจน จะไม่ชอบความก้าวร้าว และรุนแรง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น